หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ห้องวิจัยเล็กๆ

จากที่ได้เอาเรื่องราวนี้ไปแบ่งบันให้ในเว๊บเกษตรพอเพียงในครั้งก่อน
จนได้คำแนะนำหลายๆอย่างมา

สิ่งสำคัญที่ได้มาคือ ตัวผมเองยังไม่รู้จักธรรมชาติของเกษตร แต่ดันอุตริคิดสร้างเครื่องมือทางเกษตร 555

ไม่เป็นไร นักวิจัย ก็คือนักเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อลองหาจุดเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การทำเกษตร
คำสุดฮิต ไฮโดรปอนิกส์ (hydroponics) ก็เข้าหัวมา
ลองหาเรื่องราวนี้ในกูเกิล แต่ไปสะดุดกับคำว่า อควาปอนิกส์ (aquaponics) แทน

พูดแบบง่ายๆ อควาปอนิกส์ คือการเอาของเสียของปลามาเป็นสารอาหารให้ผัก
ส่วนผักก็กำจัดส่วนที่เป็นของเสียให้กับบ่อปลา

อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปหลายชิ้น
เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ก็เลยหยิบชิ้นหนึ่งมาลองทำตาม

แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ก็เลยเปลี่ยนแปลงระบบของงานวิจัยดั้งเดิม
จากใช้ปลาดุกที่ขับถ่ายออกมาเป็นสารจำพวกไนโตรเจนสูง มาใช้ปลาคาร์พแทน
จากที่ปลูกผัก lettuce เป็นปลูกกวางตุ้งกับผักกาดขาวแทน 555

แล้วห้องวิจัยเล็กๆของผมก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นดังรูปนี้

ห้องวิจัยเล็กๆของผม
















ห้องวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกเป็นระบบ อควาปอนิกส์เล็กๆ
ปั๊มน้ำสูบน้ำจากบ่อปลาคาร์พขึ้นไปในระบบบ่อพักและบ่อกรอง
น้ำที่ผ่านจากบ่อกรองก็ไหลสู่บ่อปลูกผักที่มีอยู่ 2 บ่อ แล้วไหลกลับไปสู่บ่อปลา
2 บ่อนี้ปลูกผักได้ 16 กระถาง

ระบบ aquaponics ของห้องวิจัย













ส่วนที่สองเป็นแปลงปลูกผักใช้ดินแบบพื้นๆที่ทำจากลังโฟม

ทดลองไประยะหนึ่ง ปรากฎว่าผักในแปลงลังโฟมใหญ่โตตามรูปด้านล่าง


ผักในแปลงลังโฟม














แต่ในระบบอควาปอนิกส์เติบโตได้แค่นี้ 555

กวางตุ้งและผักกาดขาวในระบบ aquaponics
















เนื่องจากไม่มีเครื่องตรวจวัดเหมือนห้องวิจัยใหญ่ๆ
จึงไม่สามารถวัดปริมาณสารอาหารในระบบอควาปอนิกส์ของผมได้

ก็เลยลองเปลี่ยน จากปลูกกวางตุ้งกับผักกาดขาว
มาปลูกผักที่ต้องการปุ๋ยน้อยกว่าอย่างผักบุ้งในระบบอควาปอนิกส์แทน

ผลปรากฎเป็นตามรูปนี้ครับ


ผักบุ้งในระบบ aquaponics

















ถือว่าโตในระดับที่ใช้ได้เลยครับ

การทดลองนี้ยังไม่ได้สรุปผลใดๆ
แค่เอามาเล่าสู่กันฟังก็เท่านั้นเอง